Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

09 สิงหาคม 2565 : บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยงบการเงินประจำปี 2563 เดินหน้ากลับสู่การซื้อขายหลักทรัพย์

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทกรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เผยว่า “เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 เราได้เปิดเผยงบการเงินประจำปี 2563 ซึ่งล่าช้าไปเป็นระยะเวลา 1.5 ปี สาเหตุที่เราเปิดเผยงบการเงินนี้ล่าช้าเนื่องจากเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาบางประการ แต่ขณะนี้เรามาถึงจุดที่เรามีความจำเป็นที่จะแจ้งต่อสาธารณชนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ  

            โดยในปี 2563 นั้น เป็นปีที่ยากลำบาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 และ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์สิงคโปร์ได้ตัดสินให้บริษัทย่อยของเราที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 71 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเราได้ชำระครบถ้วนแล้วในช่วงปี 2564 คำพิพากษานี้ทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ในปี 2563 เพิ่มขึ้นประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากในคำพิพากษาส่วนที่เหลือเป็นเพียงคำสั่งให้ชำระหนี้ในหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวนเงินประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่เรามีอยู่กับบริษัท เจทรัสต์ เอเชีย พีทีอี แอลทีดี (JTA)

            เราจะพยายามเพื่อให้บริษัทฯ กลับเข้าสู่สถานะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกครั้ง โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการเปิดเผยงบการเงินประจำปี 2564 และปี 2565 เราสามารถกล่าวได้ว่า เราสามารถจัดทำบัญชีภายในของเราได้โดยเสร็จสมบูรณ์ทันเวลาเสมอ และเราพร้อมสำหรับการตรวจสอบประจำปี 2564 และปี 2565 แล้ว เราให้สัญญาว่าเราจะเร่งรัดการนำส่งสิ่งใดก็ตามที่จะทำให้ผู้สอบบัญชีของเราพึงพอใจ เพื่อที่จะกลับสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ เราต้องเปิดเผยงบการเงินให้ทันกำหนดเวลาเป็นระยะเวลา 2 ไตรมาสติดต่อกัน เราจะทำงานอย่างหนักเพื่อการเปิดเผยงบการเงินประจำปี 2564 และปี 2565”

            นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทกรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราได้รับรายงานการไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินจากผู้สอบบัญชีของเรา เช่นเดียวกับงบการเงินไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2563 เหตุผลที่สำคัญที่สุดจากบริษัทฯ ในเรื่องการไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินนั้นคือ ในมุมมองของบริษัทเคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด นั้น มองว่าพวกเขาไม่ได้รับคำอธิบายหรือหลักฐานที่น่าพอใจต่อบางประเด็น บริษัทฯ พยายามอย่างที่สุดที่จะให้ข้อมูลแก่เคพีเอ็มจีมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเรายังได้ให้เอกสารและสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เรามีให้แก่เคพีเอ็มจี เรายอมรับว่ามีบางข้อมูลที่ทั้งเคพีเอ็มจีและบริษัทฯ ต้องการจะได้รับ แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม ทั้งบริษัทฯ และเคพีเอ็มจีจึงไม่สามารถได้รับข้อมูลทั้งหมดที่ร้องขอ เฉกเช่นเดียวกับงบการเงินไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2563 แทนที่จะรอจนกว่าเราจะสามารถได้รับข้อมูลทั้งหมดและการแสดงความเห็นที่ไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินจากเคพีเอ็มจี เรารู้สึกว่าสิ่งสำคัญกว่าคือการที่สาธารณชนจะได้ทราบความคืบหน้าในผลการดำเนินงานของบริษัท และเพื่อให้บริษัทฯ สามารถกลับสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกครั้ง ดังนั้นเราได้ตัดสินใจแล้วว่าจะทำการเปิดเผยงบการเงินประจำปี 2563 แม้รู้ว่าเรายังคงมีประเด็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข

            เคพีเอ็มจียังคงอ้างถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับคดีความต่างๆ ของบริษัท อย่างที่กล่าวไปหลายครั้งแล้วว่า คดีความยังคงไม่แน่นอนจนกว่าศาลจะพิพากษาตัดสินคดีความระหว่างบริษัทฯ และJTA เราจะสู้คดีกับทาง JTA ต่อไปให้ถึงที่สุดเท่าที่เราทำได้ และเรายังคงมั่นใจว่าในวันที่คดีแพ่งของศาลประเทศไทยไปถึงขั้นการพิจารณาคดี บริษัทฯ จะเป็นฝ่ายชนะคดี เราขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ถือหุ้นที่อยู่ในช่วงเวลาเหล่านี้ เราจะแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมจากเหตุการณ์นี้

            บริษัทฯ ได้ข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในปี 2563 และปี 2564 ภายใต้การระบายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 และอย่างที่ทุกท่านทราบเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศเมียนมาและประเทศศรีลังกา รวมถึงเรื่องค่าเงินที่อ่อนค่าลงในประเทศลาว ประเทศเมียนมา และประเทศศรีลังกา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำเนินธุรกิจของเราในแต่ละประเทศจนถึงในปี 2565 ดังนั้นผลประกอบการของปี 2564 ที่เรากำลังจะเปิดเผยในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะไม่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 นี้ เราได้ปิดกิจการในประเทศอินโดนีเซียซึ่งส่งผลเสียต่อเราแล้ว เนื่องจากบริษัทกรุ๊ปลีส ไฟแนนซ์ อินโดนีเซีย (GLF Indonesia) เป็นบริษัทที่ร่วมทุนกับบริษัท เจทรัสต์ กรุ๊ป (J Trust Group) ซึ่งเป็นฝ่ายคู่กรณีพิพาทของเรา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตอีกต่อไป อีกทั้งบริษัทในประเทศกัมพูชาและประเทศไทยก็เริ่มที่จะขยายกิจการอีกครั้ง ซึ่งทั้งสองประเทศนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทฯ ในปี 2565”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

1 กรกฎาคม 2565: กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบริษัทกรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) และอดีตกรรมการบริษัท จำนวน 2 ท่าน

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

1 กรกฎาคม 2565

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญา ต่อบริษัทฯ และอดีตกรรมการ 2 ท่าน ได้แก่ นายมุเนโอะ ทาชิโร่ และนายมิทสึจิ โคโนชิตะ ซึ่งทาง J Trust Asia (JTA) ได้ยื่นฟ้องเมื่อเดือนมกราคม 2561

การที่ DSI  มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ JTA ได้ยื่นฟ้องข้อกล่าวหาทางอาญาเรื่องประเด็นการลงทุนในประเทศไทยนั้นไม่มีมูลความจริง ซึ่งยังสามารถนำไปใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการตัดสินคดีความจากมูลเหตุเดียวกันที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก 

จากการที่ JTA ได้ยื่นข้อกล่าวหาทางอาญาโดยอ้างอิงประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งประกาศตัดสิทธิของประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ ในขณะนั้น อีกทั้งยังให้บริษัทฯ ทำการแก้ไขงบการเงินประจำปี 2559 – 2560 แต่ในที่สุด คดีนี้ได้ตกไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ ของเรา ทั้งนี้บริษัทฯ และกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ยังคงเชื่อมั่นและยืนยันว่า คดีความที่ทาง JTA ได้ยื่นฟ้องเรานั้น มีเจตนาที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งในด้านชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือต่อบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก และเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับเราที่ต้องข้ามผ่านข้อสงสัยในข้อกล่าวหานี้”


นาย ริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ DSI ได้มีข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกับเรา ซึ่งมองว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้น ไม่ถูกต้อง และขณะนี้คดีความได้ยุติลงแล้ว หลังจากที่ DSI ได้ทำการสืบสวนสอบสวนเป็นเวลานานถึง 4 ปี 6 เดือน และพบว่าไม่มีมูลความจริงทางกฎหมายที่สนับสนุนข้อกล่าวหาของ JTA ต่อบริษัทฯ และ 2 อดีตกรรมการ   ดังนั้นทางบริษัทฯ กลุ่มบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยสำหรับความเสียหายที่เราได้รับ ซึ่งมาจากการฟ้องร้องโดยมิชอบและเป็นการละเมิดจากทาง JTA, กลุ่มบริษัท J Trust และกรรมการของ J Trust ที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้น การมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคดีความของบริษัทฯ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งจะช่วยให้บริษัทได้รับค่าเสียหายจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของทาง JTA”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

07 มกราคม 2565: กรุ๊ปลีสยื่นขอให้ศาลพิจารณาคดีอาญาที่ฟ้อง JTA และพวกอีก 2 คน หลังจากชนะคดีร้องขอฟื้นฟูกิจการ

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561 กรุ๊ปลีสได้ฟ้องคดีอาญากับ JTA และกรรมการของ JTA อีก 2 คน คือ นายโนบุโยชิ ฟูจิซาวะ และ นายชิเกะโยชิ อาซาโนะ (ปัจจุบันเป็นอดีตกรรมการของ JTA) ในข้อหาร่วมกันยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกรุ๊ปลีส ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างเท็จว่ากรุ๊ปลีสอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในการ ฟื้นฟูกิจการ         อันเป็นเหตุให้ชื่อเสียงของกรุ๊ปลีสได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังทำให้บริษัทขาดความน่าเชื่อถือ ในหมู่นักลงทุน จึงส่งผลเสียต่อมูลค่าหุ้นของบริษัทล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ศาลฎีกาแห่งประเทศไทย ได้ยกคำร้อง   ขอฟื้นฟูกิจการของ JTA อันเป็นคุณแก่กรุ๊ปลีส ฉะนั้นจะไม่มีการยื่นอุทธรณ์สำหรับคดีนี้โดย JTA อีกต่อไป และคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว เรารู้สึกยินดีที่เราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และพิสูจน์ให้เห็นว่าคำกล่าวหาของ JTA ที่ว่ากรุ๊ปลีสจะต้องเข้าฟื้นฟูกิจการนั้นไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งจะทำให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย ของกรุ๊ปลีสมั่นใจในสถานะของบริษัทมากยิ่งขึ้น”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ในขณะที่เรารู้สึกยินดีที่ศาลฎีกาได้ยุติข้อสงสัยในเรื่องที่กรุ๊ปลีสมีสถานะต้องเข้าฟื้นฟูกิจการ นั้น ในมุมมอง ของพวกเรา JTA นายโนบุโยชิ ฟูจิซาวะ และ นายชิเกะโยชิ อาซาโนะ ได้กระทำความผิดทางอาญา ตามมาตรา 90/80 ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 พวกเขาได้ยื่นคำร้องอันเป็นเท็จในการขอฟื้นฟูกิจการกรุ๊ปลีส ต่อศาลล้มละลายกลาง คดีนี้ได้ถูกสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เพื่อรอให้มีคำพิพากษาจนถึงที่สุดในคดีฟื้นฟูกิจการ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 กรุ๊ปลีสจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอให้พิจารณาคดี อาญาที่ฟ้องต่อ JTA นายโนบุโยชิ ฟูจิซาวะ และ นายชิเกะโยชิ อาซาโนะ นี้ใหม่ ศาลจึงได้กำหนดนัดพร้อม ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อพิจารณาว่า จะนำคดีกลับมาพิจารณาใหม่หรือไม่ ซึ่งการลงโทษสำหรับ คดีอาญาของจำเลยดังกล่าว คือ หากบริษัทชนะคดีนี้ จำเลยต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสามแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจำ และเราจะขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยจะติดตามให้ JTA และกรรมการแต่ละคนของ JTA ชดใช้ความเสียหายที่พวกเขาทำกับกรุ๊ปลีส และผู้ถือหุ้นของพวกเรา และจะทำให้พวกเขาต้องชดใช้ผลของการกระทำในคดีอาญานี้ ซึ่งในประเทศไทย ศาลล้มละลายกลางจะเป็นศาลที่พิจารณาคดีอาญาอันเกี่ยวเนื่องกับการยื่นขอฟื้นฟูกิจการอันเป็นเท็จ โดยศาลดังกล่าวยังเป็นศาลเดียวกันกับศาลที่พิพากษาให้กรุ๊ปลีส ชนะคดีฟื้นฟูกิจการล่าสุด เนื่องจากพิพากษา ว่า กรุ๊ปลีสไม่เข้าข่ายตามข้อกำหนดที่ต้องเข้าฟื้นฟูกิจการ

นอกจากนี้ ข้าพเจ้าต้องการจะกล่าวเพิ่มเติมว่า กรุ๊ปลีสยังคงมีคดีความที่ฟ้อง JTA อยู่อีก โดยเป็นคดีความที่มีทุนทรัพย์จำนวน 9.13 พันล้านบาท อันเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกรุ๊ปลีส และผู้ถือหุ้นของกรุ๊ปลีส อีกทั้งเรากำลังยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ที่กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ให้กรุ๊ปลีสได้รับเงินจำนวน 685 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กรุ๊ปลีสได้รับ จากการที่ JTA สร้างความเสียหายให้แก่กรุ๊ปลีส โดยในการยื่นฎีกาต่อศาลฎีกา เพื่อเรียกร้องเงิน จำนวน 685 ล้านบาท นั้น เราจะอ้างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ยกคำร้องของ JTA ในการยื่นอุทธรณ์ขอฟื้นฟูกิจการ

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

23 ธันวาคม 2564 : ผลออกชัด กรุ๊ปลีส ชนะคดีชั้นศาลฎีกา คดีถึงที่สุด

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

23 ธันวาคม 2564

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ศาลฎีกาสูงสุด ของประเทศไทย มีคำพิพากษาที่เป็น ผลดีแก่ กรุ๊ปลีส โดยศาลได้ปฏิเสธคำขอฎีกาของ JTA ในคดีฟื้นฟูกิจการ ที่ยื่นโดย JTA เดิมทีศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งยกคำร้องของ JTA ที่กล่าวหาว่า กรุ๊ปลีสล้มละลาย และต่อมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ก็ได้มีคำสั่งยืนตามศาลล้มละลายกลาง และแม้ว่าจะพ่ายแพ้ ทางกฎหมายถึง 2 ครั้ง แต่ JTA ยังพยายามยื่นฎีกาคำสั่งไปยังศาลฎีกา จนในวันนี้ ศาลฎีกาได้มีคำสั่งว่า คำตัดสินของศาลฎีกานั้น จะไม่แตกต่างจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงได้ยกคำขอฎีกาของ JTA ดังนั้น คดีจึงถึงที่สุด ทาง JTA จะไม่สามารถยื่นฎีกาได้อีกต่อไป เรารู้สึกยินดีที่เราสามารถ เดินหน้าต่อไปได้ และสามารถแสดงให้เห็นว่า คำกล่าวหาของ JTA ที่กล่าวหาว่า กรุ๊ปลีสล้มละลายนั้น เป็นเรื่องหลอกลวง

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ในขณะที่เรารู้สึกยินดีที่ศาลฎีกาได้ยุติข้อสงสัยในเรื่องที่กรุ๊ปลีสมีสถานะล้มละลาย การต่อสู้และ          การชนะคดีความทางกฎหมายทั้ง 3 ครั้งนั้น มีค่าใช้จ่ายมหาศาล อีกทั้งยังทำให้เราเสียชื่อเสียง อย่างมาก ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เราจึงต้องทำให้มั่นใจว่า JTA จะเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อการกระทำของ JTA และต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้นของกรุ๊ปลีส

ซึ่งขณะนี้ระบบกฎหมายของไทยได้ยืนยันและทำให้ถึงที่สุดแล้วว่า กรุ๊ปลีสไม่ได้ล้มละลาย และสิ่งที่ JTA กล่าวหานั้น เป็นเรื่องหลอกลวง ซึ่งทำให้ความต้องการของเราที่จะเรียกร้องค่าชดเชยนั้น เพิ่มมากยิ่งขึ้น และเราจะใช้คำพิพากษาของศาลนี้ เป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์   ในรูปคดีของเราในคดีเรียกร้องทางแพ่ง ที่กรุ๊ปลีสได้ยื่นฟ้อง JTA ให้ชดใช้เงินจำนวน 9,130 ล้านบาท โดยเป็นค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย ที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้กับการดำเนินการทางกฎหมายที่ไม่สุจริตของ JTA ในช่วงวันที่ 20 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2563

 

นอกจากนั้น เรายังจะใช้ผลของศาลฎีกานี้ในการอุทธรณ์ปัจจุบันของเราต่อศาลฎีกา เกี่ยวกับคดีที่เราเคยชนะคดี และได้รับคำพิพากษาให้ได้รับเงินจำนวน 685 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเสียหาย  จากการที่ JTA กล่าวหาว่ากรุ๊ปลีสล้มละลาย ซึ่งต่อมา ค่าเสียหายจำนวน 685 ล้านบาทนั้น ได้ถูกศาลอุทธรณ์ กลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม จากความเห็นของศาลฎีกาในวันนี้ เราคาดว่าศาลฎีกา จะพิจารณาให้เป็นคุณต่อรูปคดีของเรา และหวังว่าศาลฎีกาจะเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลชั้นต้น”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

13 กันยายน 2564 : GL ในประเทศอินโดนีเซีย จะระงับการปล่อยเงินกู้ใหม่เนื่องจากการกระทำของ JTA

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

13 ก.ย. 2564

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เปิดเผยว่า “คณะกรรมการของบริษัทฯ ตัดสินใจที่จะไม่เพิ่มเงินทุนในบริษัท PT Group Lease Finance Indonesia (“GLFI”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย และ GLFI จะหยุดการปล่อยเงินกู้รายใหม่ โดยจะเรียกเก็บเงินที่ได้ปล่อยกู้ไปแล้วจากลูกค้าของ GLFI เท่านั้น หน่วยงานทางด้านการเงินของประเทศอินโดนีเซีย (“OJK”) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน จำนวน 3 ราย (Group Lease Holdings Pte. Ltd. (“GLH”), J Trust Asia Pte. Ltd. (“JTA”) และ PT Wijaya Infrastructure Indonesia) ทำการเพิ่มเงินทุนเพิ่มเติมใน GLFI เป็นจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 98 ล้านบาท แต่ JTA ปฏิเสธที่จะเพิ่มเงินทุนดังกล่าว

JTA ไม่เพียงแต่ปฏิเสธการเพิ่มทุนเท่านั้น แต่ JTA ยังได้ขอให้ศาลสูงแห่งประเทศสิงคโปร์มีคำสั่งห้าม GLH โอนย้ายทรัพย์สิน หากบริษัทฯ พิจารณาที่จะเพิ่มเงินทุนดังกล่าวด้วยตนเอง จะมีการบังคับใช้ข้อกำหนดใหม่ด้านเงินทุนขั้นต่ำกับ GLFI โดยข้อกำหนดใหม่ด้านเงินทุนนั้น ใช้บังคับกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการเงินทุกแห่งในประเทศอินโดนีเซีย และเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด บริษัทฯ จะต้องเพิ่มเงินทุนใหม่ใน GLFI ประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 361 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) และมีการฟ้องร้องของ JTA ต่อกลุ่มบริษัท ในเขตอำนาจศาลต่างๆ และยังมีคำสั่งในประเทศสิงคโปร์ที่ห้ามโอนย้ายทรัพย์สินของ GLH ที่มีสาเหตุมาจาก JTA บริษัทฯ จึงตัดสินใจที่จะไม่ลงทุนเพิ่มใน GLFI ในขณะนี้

บริษัทฯ รู้สึกผิดหวังที่ JTA ขัดขวางไม่ให้ GLH ลงทุนใน GLFI ซึ่งจะทำให้ GLFI ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านเงินทุนของ OJK ได้ และทำให้ GLFI ไม่สามารถออกเงินกู้ใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม GLFI จะยังคงเรียกเก็บเงินจากพอร์ตที่ มีอยู่ บริษัทฯ กำลังตรวจสอบกับที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดกับ GLH, GLFI และบริษัทฯ อันเนื่องมาจากการกระทำของ JTA และ บริษัทฯ จะต่อสู้เพื่อผู้ถือหุ้นของเราและปกป้องธุรกิจของบริษัทฯ ต่อไป”

 

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

13 กรกฎาคม 2564 : กรุ๊ปลีส เคลียร์ชัด จบทุกข้อ ในทุกประเด็นของ GLH ชำระหนี้ครบถ้วน คำสั่งศาลถูกปลดออก และปลดล็อคข้อข้องใจ KPMG เรียบร้อย จากนี้พร้อมเดินหน้าธุรกิจเต็มที่ หลังจบโควิด

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

13 ก.ค. 2564

GLH (Group Lease Holding Pte. Ltd.) ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลสิงคโปร์ครบเต็มจำนวน 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,187 ล้านบาท ทำให้คำสั่งของศาลที่มีต่อ GLH ได้ถูกปลดออกไป ส่งผลให้ข้อข้องใจของ KPMG ได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อย จากนี้บริษัทพร้อมเดินหน้าธุรกิจต่อเต็มที่ หลังสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดดีขึ้น

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 GLH (Group Lease Holding Pte. Ltd.) บริษัทย่อยที่บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลสิงคโปร์ส่วนที่เหลือครบเต็มจำนวนแล้วเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคำพิพากษาศาลสูงของประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ได้วินิจฉัยว่า GLH และจำเลยรายอื่นๆ ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,187 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 30% ของค่าเสียหายที่ JTA เรียกร้อง โดยความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น คิดเป็นเงินประมาณ 49 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,527 ล้านบาท) เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งครบกำหนดชำระให้แก่ JTA ในเดือนมีนาคม 2563 แต่ GL ได้ระงับการจ่ายเงินเนื่องจากการกระทำของ JTA เอง

การชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลสิงคโปร์อย่างครบถ้วนนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นหนึ่งในข้อข้องใจหลักของ KPMG ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินของบริษัทในปี 2563 และความไม่แน่นอนทางกฎหมายไปได้ และเมื่อได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลสิงคโปร์จนครบแล้ว ดังนั้นคำสั่งศาลที่มีต่อ GLH จึงได้ถูกปลดออกไป และนั่นทำให้ทั้งธุรกิจของเรา และ KPMG ไม่ติดปัญหาอีกต่อไป นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเปิดเผยงบการเงินปี 2563 ได้”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสิงคโปร์ที่มีต่อ GLH และเมื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษานี้เสร็จสิ้นแล้ว เราไม่เพียงแต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งศาลที่มีต่อ GLH แต่ยังทำให้เราสามารถใช้ทรัพย์สินทั้งหมดของกลุ่มเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของเราได้ และเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่าบริษัทฯ ของเรายังคงมีเสถียรภาพที่ดี มีความสามารถและความแข็งแกร่งทางการเงิน และชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน และนับจากนี้ บริษัทฯ พร้อมที่จะเดินหน้า มุ่งดำเนินธุรกิจของเราอย่างเต็มที่ หลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้น


ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด
สุทิศา ไตรกิศยาโสภณ หรือ ภูมิรพี ศิริบรรณ
โทร.0-2693-7835-8 ต่อ 25 หรือ 21 มือถือ 098-996-2454 หรือ 081-587-5199

 

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

08 มกราคม 2564 : GL ชำระค่าเสียหายตามคำสั่งศาลสิงคโปร์บางส่วน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างรอการตอบรับ

GL ชำระค่าเสียหายตามคำสั่งศาลสิงคโปร์บางส่วน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างรอการตอบรับ

08 Jan 2021

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 GL ได้จ่ายเงินจำนวน 37,000,000 เหรียญสหรัฐ (มากกว่า 1,100,000,000 บาท) ให้แก่ JTA ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลสูงแห่งประเทศสิงคโปร์ที่ได้ตัดสินไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ให้ GLH และจำเลยอื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจำนวนเงินราว 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,187 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินเพียง 30% โดยประมาณของจำนวนเงินที่ JTA ฟ้องมา โดยความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น จำนวน 49 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,527 ล้านบาท) เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ครบกำหนดในเดือนมีนาคม 2563 แต่ GL นั้นระงับการจ่ายเงินไว้เนื่องจากการกระทำของ JTA

โดยก่อนหน้านี้ กรุ๊ปลีส ได้ชำระหนี้ให้กับ JTA เป็นจำนวนเงิน ประมาณ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (685,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย) ในรูปแบบของการหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งไทย ซึ่งได้ตัดสินไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมาว่า ให้ JTA ชำระเงินจำนวน 685.5 ล้านบาท (รวมค่าทนายความ) แก่ GL เนื่องจาก JTA ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตด้วยการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของ GL ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อ GL โดย GL ได้โอนสิทธิในการรับชำระหนี้ตามคำพิพากษานี้ให้แก่ GLH และได้นำไปหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแห่งประเทศสิงคโปร์

GLH ไม่ใช่จำเลยเพียงคนเดียวในคำพิพากษาของสิงคโปร์ที่ถูกพิพากษาให้ชำระหนี้ เนื่องจาก “ผู้กู้ไซปรัส” บางคนที่เป็นหนี้เงิน GL ก็เป็นจำเลยด้วยดังนั้นจึงต้องร่วมรับผิด ซึ่งจำเลยบางคนจะช่วยชำระเงินในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยชำระเงินโดยตรงไปยัง JTA แทนที่จะจ่ายมาที่ GLH และขณะนี้ ผู้กู้กลุ่มไซปรัสมีเงินสดจำนวนนี้อยู่ในบัญชีของตนแล้ว แต่ถูกศาลสั่งห้ามโอนเงินตามคำร้องของ JTA

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรายินดีที่จะเสนอแผนการชำระเงินเต็มจำนวนให้กับ JTA เพื่อให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาลประเทศสิงคโปร์ ด้วยเงินจำนวน 37 ล้านเหรียญสหรัฐจากประเทศไทย กับค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลไทยจำนวน 685 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย และอีก 9 ล้านเหรียญสหรัฐจากผู้กู้กลุ่มไซปรัส เราได้ยื่นข้อเสนอไปแล้วและอยู่ระหว่างการชำระเงินเต็มจำนวนตามคำพิพากษา สิ่งสำคัญคือเราอยากให้ทราบคือไม่เพียงแต่เราจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อยุติหนี้ของ GLH เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้กู้ GLH บางรายที่จ่ายเงินประมาณ 9 ล้านเหรียญสหรัฐในนามของ GLH ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรายังสามารถเรียกเก็บเงินจากพวกเขาได้หาก JTA ไม่เข้ามาแทรกแซงทางกฏหมาย ทางกลุ่ม GL มีความพร้อมที่จะกลับไปขยายธุรกิจต่างประเทศด้วยสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งและระดับเงินสดที่มีอยู่อย่างมาก”

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด
สุทิศา ไตรกิศยาโสภณ หรือ ภูมิรพี ศิริบรรณ
โทร.0-2693-7835-8 ต่อ 25 หรือ 21
มือถือ 098-996-2454 หรือ 081-587-5199

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

30 ตุลาคม 2563 : การโอนหุ้นของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) โดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่

การโอนหุ้นของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) โดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่

30 Oct 2020

บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัท เอ.พี.เอฟ. โฮลดิ้งส์ จำกัด (“เอพีเอฟ”) ได้จำหน่ายหุ้นของบริษัทเป็นจำนวน 156,911,191 หุ้น คิดเป็นร้อยละ10.285 ของหุ้นซึ่งออกและเสนอขายแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังจากการโอนหุ้นดังกล่าว เอพีเอฟ และ Engine Holdings Asia Pte. Ltd. จะยังคงถือหุ้นบริษัทอยู่จำนวน 403,565,553 หุ้น หรือเท่ากับร้อยละ 26.45 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยการโอนหุ้นดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอำนาจการควบคุมของบริษัทหรือนโยบายทางธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทแต่อย่างใด นอกจากนี้ บริษัทได้รับแจ้งว่าผู้รับโอนนั้นเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ เอพีเอฟ มาเป็นเวลานาน และมีความประสงค์ที่จะเข้าถือหุ้นในบริษัท เอพีเอฟ ยังได้แจ้งอีกว่าผู้รับโอนได้แสดงความประสงค์ที่จะถือหุ้นของบริษัทในระยะยาวและให้การสนับสนุนแก่บริษัทอย่างเต็มที่ในทุกด้านต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(นายทัตซึยะ โคโนชิตะ)
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

15 ตุลาคม 2563 : GL ประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหาร พร้อมแต่งตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ด้านนายทัตซึยะ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

GL ประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหาร พร้อมแต่งตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ด้านนายทัตซึยะ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

15 Oct 2020

บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหาร พร้อมแต่งตั้ง นายริกิ อิชิกามิ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ โดยมีประสบการณ์เป็นผู้บริหารงานในกลุ่ม GL ภาคพื้นเอเชียมานานกว่า 8 ปี อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทย่อยแห่งแรกของ GL ในต่างประเทศ คือ GLF ในประเทศกัมพูชาเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตเป็นประเทศแรกในประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกทางด้านดิจิตอลไฟแนนซ์ ของ GL โดยได้ใช้รูปแบบดิจิตอลไฟแนนซ์ในประเทศลาวและพม่า โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำรูปแบบดิจิตอลไฟแนนซ์มาช่วยให้ธุรกิจในกลุ่มของ GL เป็นไปตามที่ต้องการได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ขณะที่ด้านนายทัตซึยะ โคโนชิตะ จะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมกับนายคานาเมะ ฮาชิโมโตะ ช่วยดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับนักลงทุน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผมมีความยินดีที่จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านทราบว่า GL จะมีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ซึ่งมีประสบการณ์เป็นผู้บริหารงานในกลุ่ม GL ภาคพื้นเอเชียมานานกว่า 8 ปี เนื่องจาก GL มีความคืบหน้าทางด้านคดีความ และมุ่งเน้นในการบริหารธุรกิจให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้บริหารให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น มีการแต่งตั้งให้ นายริกิ อิชิกามิ เข้ารับตำแหน่ง CEO คนใหม่ของ GL โดยผมยังคงดำรงตำแหน่งใน GL เป็นรอง CEO ช่วยดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับนักลงทุน นายคานาเมะ ฮาชิโมโตะ ได้ร่วมดำรงตำแหน่งรอง CEO กับข้าพเจ้าอีกหนึ่งคน รับหน้าที่ดูแลในฝั่งประเทศพม่าและลาว ซึ่งทุกคนที่กล่าวมานี้ เป็นผู้ที่มีรายชื่อดำรงตำแหน่งกรรมการของ GL อยู่แล้วทั้งสิ้น

นายริกิ อิชิกามิ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทย่อยแห่งแรกของ GL ในต่างประเทศ ซึ่งก็คือ GLF ในประเทศกัมพูชาเมื่อปี 2012 และ GLF ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา GLF เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตเป็นประเทศแรกในประเทศกัมพูชา โดยเริ่มต้นจากการที่มีลูกจ้างเพียงไม่กี่คน และไม่มีตัวแทนจำหน่าย นายริกิตระเวนไปทั่วกัมพูชา เจรจากับตัวแทนจำหน่ายและสร้างธรุกิจให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น เขาสร้างและบริหารธุรกิจ และตอนนี้ GLF มีตัวแทนจำหน่ายมากกว่า 200 คน และเป็นบริษัทเช่าซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 8 ปีนี้ อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกทางด้านดิจิตอลไฟแนนซ์ ของ GL และหลังจากที่ประสบความสำเร็จในกัมพูชาแล้ว GL ได้ใช้รูปแบบดิจิตอลไฟแนนซ์นี้ในประเทศลาวและพม่า โดยเชื่อว่าความรู้ความสามารถของนายริกิ จะสามารถช่วยให้ธุรกิจในกลุ่มของ GL เป็นไปตามที่เราต้องการได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

นายคานาเมะ ฮาชิโมโตะ นอกจากจะเป็นกรรมการของ GL แล้ว ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการในสามบริษัทย่อยของ GL คือ GL-AMMK กับ BG Microfinance ซึ่งทั้งสองบริษัทตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า และ GL Leasing ในประเทศลาว นายคานาเมะได้ขยายธุรกิจในกลุ่มของ GL ไปประเทศพม่า โดยเน้นเรื่องเช่าซื้อมอเตอร์ไซด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ของเราอีกด้วย การปล่อยกู้รายย่อย นายคานาเมะ ยังคงดูแลหน้าที่ของเขาในประเทศพม่าและลาว พร้อมกับให้คำปรึกษาแก่ CEO คนใหม่ของเรา รวมทั้งบริหารจัดการในกลุ่มของ GL

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นี่คือการปรับโครงสร้างผู้นำองค์กร ไม่ใช่การเปลี่ยนผู้นำ นายคานาเมะ นายทัตซึยะ และผม เป็นกรรมการของ GL และมีบทบาทในการบริหารจัดการองค์กรมานานหลายปี เราเพียงแต่ปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้บริหารให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น และมุ่งเน้นในการบริหารธุรกิจให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

08 ตุลาคม 2563 : ศาลสูงสุดที่สิงคโปร์มีคำพิพากษาให้ GL จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 2,187 ล้านบาท)

ศาลสูงสุดที่สิงคโปร์มีคำพิพากษาให้ GL จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 2,187 ล้านบาท)

08 Oct 2020

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า “ในเดือนธันวาคม 2560 JTrust Asia Pte., Ltd. (“JTA”) ได้ฟ้อง บริษัท กรุ๊ปลีส โฮลดิ้งส์ จำกัด (“GLH”) (นิติบุคคลสัญชาติสิงคโปร์) เป็นคดีแพ่ง โดยกล่าวหาว่า GLH กับพวกได้ร่วมกันทำการละเมิดและหลอกลวงให้หลงผิดในสถานะการเงินของ GL เพื่อทำให้ JTA ลงทุนใน GL และเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนประมาณ 7,183 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลสูงของสิงคโปร์ ได้ยกคำฟ้องของ JTA และสั่งให้ JTA ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งหลายรวมทั้ง GL ด้วย

เมื่อวานนี้ ศาลสูงสุดของสิงคโปร์ ได้กลับคำพิพากษาของศาลสูง และมีคำตัดสินให้ GLH และพวกร่วมกันรับผิดในค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนประมาณ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,187 ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของทุนทรัพย์ตามคำฟ้องของ JTA เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 70% ของทุนทรัพย์ตามฟ้องของJTA (เป็นเงินประมาณ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,656 ล้านบาท) ซึ่งรวมค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับหุ้นกู้แปลงสภาพฉบับที่สองมูลค่า 130 ล้านเหรียญ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,060 ล้านบาทแล้ว) ถูกปฏิเสธโดยศาลสูงสุด

ซึ่งค่าเสียหายส่วนใหญ่ตามคำพิพากษา จำนวน 49 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,527 ล้านบาท) เป็นค่าชดใช้เงินส่วนที่เหลือของหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐที่ถึงกำหนดชำระให้แก่ JTA ในเดือนมีนาคม 2563 ที่เราได้ระงับการจ่ายไว้แล้วตามที่ได้ประกาศไปแล้วในข่าวประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 โปรดดูรายละเอียดใน link ด้านล่าง

https://investor.grouplease.international/news.html/id/790125/group/home

เราสามารถชำระเงินตามคำพิพากษานี้ ได้จากกระแสเงินสดของเรา ซึ่งเรายังมีคดีความที่ต้องดำเนินตามกระบวนพิจารณาในประเทศไทยอยู่ รวมถึงคำขออุธรณ์คำพิพากษา ของ JTA เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ศาลแพ่งในประเทศไทยพิพากษาว่า JTA กระทำการไม่สุจริต โดยการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ GL โดยศาลเห็นว่าการกระทำของ JTA ก่อให้เกิดความเสียหายและมีคำสั่งให้ชดใช้ GL เป็นเงินจำนวน 685.5 ล้านบาท นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 GL ได้ฟ้อง JTA เป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 9,130 ล้านบาทจากการที่ถูก JTA ใช้กระบวนการทางกฎหมายกลั่นแกล้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โปรดดูรายละเอียดใน link ด้านล่าง

https://investor.grouplease.international/news.html/id/798626/group/home

เราจะยังคงสู้ต่อไปเพื่อผู้ถือหุ้นและปกป้องธุรกิจของเรา”