Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

12 กันยายน 2566: คำร้องเลิกกิจการ GLH ถูกระงับ ตั้งผู้ชำระบัญชีชั่วคราวเข้าดูแลทรัพย์สินของ GLH

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อไม่นานมานี้ JTA ได้ยื่นคำร้องขอให้เลิกกิจการ GLH ในประเทศสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม แทนที่จะดำเนินการเลิกกิจการ GLH กลับมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชั่วคราว (“ผู้ชำระบัญชี”) ของ GLH เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 โดยหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมทรัพย์สินของ GLH ส่วนเหตุผลที่ตั้งผู้ชำระบัญชีในครั้งนี้นั้น มีผลมาจากการเรียกร้องหนี้ที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาลงทุน ฉบับที่ 2 ระหว่าง บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทย กับ JTA บริษัทมีคดีฟ้องร้องในประเทศไทยเกี่ยวกับสัญญาลงทุนฉบับนี้ และบริษัทจะต่อสู้ในประเทศไทยต่อไป เพราะบริษัทเชื่อว่า บริษัทมีข้อโต้แย้งที่ชัดเจนพอที่จะชนะคดี นอกจากนี้  บริษัทจะอุทธรณ์คดีดังกล่าวข้างต้น ในประเทศไทยนั้น ศาลฏีกาได้รับฏีกาคดีของบริษัทไว้แล้ว โดยเป็นคดีที่บริษัทเรียกค่าเสียหายจาก JTA เป็นเงินจำนวน 685 ล้านบาท และบริษัทได้ชนะคดีดังกล่าวแล้วในศาลชั้นต้น อีกทั้งบริษัทยังมีคดีฟ้องร้อง JTA อีก 1 คดี ซึ่งเป็นคดีที่บริษัท ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมากกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งจะมีการพิจารณาคดีต่อไปภายในปีนี้ นอกจากนั้น บริษัทจะพยายามเรียกร้องค่าชดเชยเพิ่มเติมจาก JTA รวมถึงในกรณีการตั้งผู้ชำระบัญชีนี้ด้วย การดำเนินการทางกฎหมายอันไม่สุจริตใดๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและในอนาคตของ JTA ซึ่งเป็นการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมจะทำให้บริษัทมีมูลเหตุในการเรียกร้องค่าชดเชยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “บริษัทมีความยินดีที่กระบวนการเลิกกิจการ GLH ได้ถูกระงับชั่วคราวในครั้งนี้ ข้าพเจ้าคิดว่า มันมีความชัดเจนที่ว่ากระบวนการเลิกกิจการดังกล่าวจะมีแนวโน้มที่จะถูกปฏิเสธ  นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมถึงมันจึงอยู่ระหว่างการงดพิจารณา และมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของ GLH เพื่อดูแลทรัพย์สินของ GLH แทน แม้ว่าเราจะปฏิเสธความคิดที่ว่า GLH ต้องการผู้ชำระบัญชี เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของ GLH เนื่องจากในขณะที่คดีในประเทศสิงคโปร์ยังคงดำเนินอยู่นั้น ฝ่ายบริหารของ GLH ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลสิงคโปร์ที่มีต่อ GLH ซึ่งมีคำสั่งห้ามโอนย้ายทรัพย์สิน บริษัทมีความยินดีที่มีกระบวนการการเลิกกิจการดังกล่าวได้ถูกระงับชั่วคราว ดังนั้น บริษัทจึงสามารถทุ่มเทพลังเพื่อเอาชนะคดีหลักในประเทศสิงคโปร์ได้”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

1 สิงหาคม 2566: GL เปิดตัวผู้สอบบัญชีใหม่ ก้าวสำคัญในการกลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ได้อีกครั้ง

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “จากการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2566 (ประชุมสามัญ) ที่จัดขึ้นในวันนี้ โดยมีมติแต่งตั้ง บริษัท เอชแอลบี ออดิท (ประเทศไทย) จำกัด (“HLB”) เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประจำปี 2564, 2565 และ 2566 นับเป็นก้าวที่สำคัญ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จและความคืบหน้าที่บริษัททำให้มาถึงจุดนี้ได้ เรามีความพร้อมเป็นอย่างมากมาโดยตลอดในการที่จะเปิดเผย แสดงข้อมูลทางการเงินต่อผู้สอบบัญชีรวมถึงนักลงทุนทุกท่าน และขอต้อนรับ HLB  บริษัทตรวจสอบบัญชีชั้นนำ 1ใน 10 ของโลกที่จะได้มาร่วมงานกัน”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “บริษัทขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านสำหรับความอดทนและความเชื่อมั่นที่มีให้กับบริษัทเสมอมา และได้ร่วมลงมติให้ HLB เป็นผู้สอบบัญชี บริษัทมีความยินดีที่จะร่วมงานกับ HLB เพื่อแก้ไขประเด็นของผู้สอบบัญชี และเปิดเผยงบการเงินทันทีที่การตรวจสอบบัญชีเสร็จสมบูรณ์อย่างเหมาะสมและโปร่งใส ในการร่วมงานกับ HLB ในครั้งนี้ ทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่า จะสามารถเปิดเผยงบการเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด และหลักทรัพย์ของบริษัทสามารถกลับมาซื้อขายในตลาดได้อีกครั้งอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง บริษัทยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า กรรมการบริหารทั้งสองท่านคือ นายคานาเมะ ฮาชิโมโตะ และนายทัตซึยะ โคโนชิตะ ได้รับเลือกให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งเดิมโดยมติผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกับ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบอีกท่าน คือ นางสาวกนกรัตน์ ดีมั่งมี คณะกรรมการจะขอทำงานต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น” 


Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

11 กรกฎาคม 2566: JTA พยายามยื่นขอฟื้นฟูกิจการของ GL ในประเทศไทย เป็นครั้งที่สาม หลังจากความพยายามในสองครั้งแรกไม่เป็นผล

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อยากให้ลองพิจารณาการกระทำของ บริษัท เจทรัสต์ เอเซีย พีทีอี จำกัด (“JTA”) ต่อ GL โดยในปี 2562 ศาลล้มละลายกลางได้ยกคำร้องขอขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท JTA ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปจนถึงชั้นศาลฎีกาซึ่งพากษายืนยกคำร้องในที่สุด ต่อมาในเดือนเมษายนปีนี้ JTA ได้ยื่นคำร้องขอขอฟื้นฟูกิจการของ GL เป็นครั้งที่สอง GL ได้ยื่นคัดค้านให้ถอนคำร้องขอดังกล่าว และศาลไม่ได้รับคำร้องนั้นเพราะ JTA ถอนคำร้องไป มาถึงวันนี้ JTA ได้พยายามเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งศาลได้รับไต่สวนคำร้องไว้ เนื่องจากทรัพย์สินของบริษัทมีมากกว่าหนี้สิน บริษัทจึงไม่ได้ตกเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างชัดเจน บริษัทจะต่อสู้กับคำร้องที่ไม่มีมูลนี้ และจะใช้การกลั่นแกล้งในทางกฎหมายนี้เป็นเหตุเรียกให้มีการชดใช้ค่าเสียหายจากJTA ต่อไป อย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้การเริ่มฟ้องคดีในปี 2561 ว่าบริษัทจะต่อสู้และมีชัย และในท้ายสุด JTA ต้องชดใช้ ทีมผู้บริหารและข้าพเจ้าจะยังคงยืนยันคำเดิมในวันนี้”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า“เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า JTA กำลังใช้กระบวนการในชั้นศาลของไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเป็นเครื่องมือในการสร้งความเสียหายให้แก่ GL ศาลไทยได้ยกคำร้องโดยให้ความเห็นว่าบริษัทได้ได้ตกเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างชัดแจ้งไปแล้ว ตลอดไปจนถึงชั้นศาลฎีกา ความพยายามของ JTA ในการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของ GL ในประเทศไทยได้ล้มเหลวมาแล้ว 2 ครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เจตนารมย์ของกลุ่มบริษัทและผู้บริหารของ JTAยังคงใช้กระบวนการทางกฎหมายที่ไม่สุจริตโจมตี GL และใช้กระบวนการทางกฎหมายที่ไม่ถูกต้องกับสิทธิที่มีอยู่ในการดำเนินกระบวนการในชั้นศาลนั้น ซึ่งมันชัดเจนที่ JTA ใช้การฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ใสสะอาด บริษัทกำลังจะยื่นข้อเท็จจริงนี้ในทุกศาลและบริษัทมั่นใจว่าศาลจะเข้าใจเจตนาที่ละโมบ การละเมิดสิทธิ และการกระทำที่ไม่สุตจริตของ JTA  บริษัทจะต้องชนะและบริษัทจะใช้ชัยชนะทางกฎหมายนี้บังคับให้ JTA ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท” 


Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

30 มิถุนายน 2566: ศาลประเทศกัมพูชาเห็นว่ากลุ่มบริษัท GL ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ JTA และกรรมการของ GLH ไม่มีความผิดข้อหาฉ้อโกงหรือก่ออาชญากรรมในประเทศกัมพูชา

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บริษัทได้รับข่าวดีจากทางประเทศกัมพูชาว่า มีการยกฟ้องคดีแพ่งหมายเลข 1657 โดยศาลอุทธรณ์พนมเปญ ซึ่งเป็นศาลสูงสุดในประเทศกัมพูชา คำพิพากษาของศาลจึงถึงที่สุด คดีแพ่งหมายเลข 1657 นั้น เป็นคดีที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 อันเนื่องมาจากการที่ บริษัท เจทรัสต์ เอเซีย พีทีอี จำกัด (“JTA”) ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน จำนวน 229 ล้านหรียญสหรัฐ จาก บริษัท จีแอล ไฟแน๊นซ์ จำกัด (มหาชน) (“GLF” บริษัทย่อยสัญชาติกัมพูชาของบริษัท) และบริษัท กรุ๊ปลีส โฮลดิ้งส์ พีทีอี จำกัด (“GLH” บริษัทย่อยสัญชาติสิงคโปร์ของบริษัท) ซึ่งต่อมา JTA ได้ลดเงินค่าเสียหายลงเหลือ 154 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังคงยกฟ้องคดีนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ และทำให้คดีนี้ถึงที่สุด ในส่วนค่าดำเนินคดีที่ศาลอุทธรณ์พนมเปญนั้น จะถูกจ่ายโดย JTA ขั้นตอนต่อไปคือการเรียกร้องค่าชดเชยจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของกลุ่มบริษัทของเจทรัสต์ เนื่องจากไม่มีคดีอื่นฟ้องร้องอีกแล้วในประเทศกัมพูชา บริษัทมีหลักฐานใหม่มากพอที่เรียกค่าชดเชยในจำนวนที่มากกว่าเดิม ศาลพิพากษาว่า GLF ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายหรือความเชื่อมโยงทางกฎหมายใดๆ ในฐานะลูกหนี้ของ JTA และคดีความทางกฎหมายใดๆ กับ GLH ก็ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลของประเทศกัมพูชา ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า คำฟ้องของกลุ่มบริษัทเจทรัสต์ และผู้บริหารนั้น ไม่มีหลักฐานเพียงพอ JTA เริ่มต้นการฟ้องร้องดังกล่าวในหลายประเทศ ทั้งที่ไม่มีเหตุผลโดยชอบด้วยกฎหมายใดๆ บริษัทได้บอกหลายครั้งแล้ว และขณะนี้ ทุกคนสามารถเห็นแล้วว่า กลุ่มบริษัทเจทรัสต์กับผู้บริหารประสงค์ร้ายเพียงใด พวกเขาเริ่มก่อนและยังคงฟ้องคดีโดยไม่มีมูลต่อไป ราวกับว่าพวกเขาเชื่อว่า คดีนั้นมีประโยชน์กับพวกเขา โดยไม่สนใจว่า คดีที่จะมีมีมูลตามกฎหมายหรือไม่

บริษัทได้แจ้งให้ทราบหลายครั้งแล้วว่า JTA ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีความกับบรรดาบริษัทต่างๆ ของเราในหลากหลายประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่การฟ้องร้องทั้งหมดควรเกิดขึ้น  JTA ใช้ศาลในประเทศอื่นๆ เพื่อพยายามที่จะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท และใช้กระบวนการทางกฎหมายในทางที่ผิด เนื่องจาก JTA ไม่สามารถชนะคดีในประเทศไทยได้ การยกฟ้องครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีมูลแห่งคดีเกิดขึ้น ไม่มีหลักฐาน และการกระทำของ JTA ที่กระทำต่อกลุ่มบริษัทในประเทศกัมพูชาเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องอย่างไร้สาระ ขณะที่บริษัทมีความยินดีกับชัยชนะนี้ บริษัทยินดีกว่าที่จะใช้การถอนฟ้องนี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า JTA ได้คุกคามบริษัทอย่างต่อเนื่องโดยการฟ้องร้องกลุ่มบริษัทในต่างประเทศโดยไม่มีมูล และบริษัทจะให้ JTA ชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกลุ่มบริษัทของเรา

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าทางบริษัทรู้สึกยินดีที่คำฟ้องที่ JTA ฟ้องกลุ่มบริษัทในประเทศกัมพูชานั้น ถูกศาลยกฟ้อง นอกจากนั้น เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คดีที่ JTA ฟ้องนายมิตซึจิ โคโนชิตะ ซึ่งเป็นกรรมการ GLH ซึ่งถูกฟ้องร้องโดย JTA ในประเทศกัมพูชาเช่นกันโดยอ้างว่า นายมิตซึจิกระทำการฉ้อโกง อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นพนมเปญ ศาลอุทธรณ์พนมเปญ และสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ศาลฎีกาของประเทศกัมพูชา ทุกศาลต่างมีความเห็นเดียวกันว่า นายมิตซึจิไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดอาญาใดๆ ในประเทศกัมพูชา นับเป็นข่าวดีที่กรรมการคนปัจจุบันของ GLH และอดีตประธานกรรมการบริหารของ GL ถูกตัดสินว่า ไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ ในทุกระดับของศาลในประเทศกัมพูชา ไปจนถึงระดับศาลสูงของประเทศกัมพูชา นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า เมื่อศาลรับฟังหลักฐานของบริษัท ศาลจะตระหนักได้ว่า ไม่มีการฉ้อโกงและไม่มีการกระทำความผิดใดๆ ทั้งสิ้นทางอาญา บริษัทกำลังรอผลคำพิพากษาของคดีที่ประเทศไทยซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2567 เพื่อจะแสดงให้ผู้ถือหุ้นและหน่วยงานกำกับดูแลได้เห็นว่า บริษัทและนายมิตซึจิไม่ได้กระทำความผิดใดๆ เราจะใช้ชัยชนะทางกฎหมายในครั้งนี้ทำให้ JTA ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้ทำลงไปให้แก่บริษัท

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

28 มิถุนายน 2566: คณะกรรมการตรวจสอบของ GL เสนอแต่งตั้ง HLB เป็นผู้สอบบัญชี 

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

คณะกรรมการตรวจสอบบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เสนอแต่งตั้ง HLB หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาและการบัญชีอิสระที่มีเครือข่ายทั่วโลกและครอบคลุม 156 ประเทศ เป็นผู้สอบบัญชี นับเป็นก้าวที่สำคัญในการเปิดเผยงบการเงินบริษัทและดำเนินการให้มีคุณภาพเพื่อกลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “คณะกรรมการของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) ได้มีมติอนุมัติวาระการประชุมและหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ของบริษัท (AGM) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง บริษัท เอชแอลบี ออดิท (ประเทศไทย) จำกัด (HLB) เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นข่าวที่น่ายินดียิ่ง เพราะนั่นหมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้รับใบเสนอราคาจากหนึ่งในผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. คณะกรรมการฯ ของบริษัทได้ตรวจสอบคุณสมบัติและประสบการณ์ของ HLB แล้ว และมีความเห็นว่า HLB น่าจะเป็นผู้สอบบัญชีที่ดีสำหรับผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจาก HLB เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาและการบัญชีอิสระที่มีเครือข่ายทั่วโลกและครอบคลุม 156 ประเทศ โดยมีสำนักงาน จำนวน 1,128 แห่ง และยังมีพนักงานมากกว่า 40,000 คนอีกด้วย อีกทั้ง ยังอยู่อันดับที่ 10 ตามการจัดลำดับโลก

ขณะนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นของบริษัท ที่จะพิจารณาอนุมัติให้ HLB เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะมีผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. มาทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถบรรลุและเปิดเผยงบการเงินของปี 2564, 2565 และ 2566 ได้ เป็นเวลานานมากแล้วที่บริษัทไม่มีผู้สอบบัญชีตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน จนทำให้เกิดความล่าช้าในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของบริษัท และท้ายที่สุดส่งผลให้การซื้อขายหุ้น GL นั้น ถูกระงับ จึงนับเป็นช่วงเวลายากลำบากมากว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ก้าวผ่านปัญหาทุกอย่างมาแล้ว และขณะนี้บริษัทมีผู้สอบบัญชีที่พร้อมทำงานให้กับบริษัท ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินไปข้างหน้าของผู้ถือหุ้นบริษัท”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าอย่างที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนของแผนการสรรหาผู้สอบบัญชีรายใหม่สำหรับปี 2564 ถึง 2566 ของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท ซึ่งจะทำให้เราสามารถเปิดเผยงบการเงินให้ทันถึงปัจจุบัน และสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นบริษัท ทั้งนี้ บริษัทรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ HLB มาสอบทานและตรวจสอบงบการของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่เคยมีสิ่งใดให้ปิดบังซ่อนเร้นมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และบริษัทพร้อมเสมอที่จะถูกตรวจสอบ บริษัทได้ทำบัญชีในรอบไตรมาสและในรอบปีไว้แล้วเป็นการภายใน และพร้อมจะทำงานร่วมกับ HLB ได้ทันที เพื่อทำการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อให้สาธารณชนได้ทราบความคืบหน้าดำเนินการของบริษัท และเพื่อให้เรามีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการอนุญาตให้สามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทได้อีกครั้ง จึงนับว่าเป็นก้าวที่ดี และบริษัทรู้สึกตื่นเต้นที่จะรายงานความคืบหน้าของบริษัทให้ทุกท่านทราบ”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

8 มิถุนายน 2566: ตลท. ตอบรับคำขอขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนของ GL

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ “GL” เปิดเผยว่า “GL มีความยินดีเป็นอย่างมากที่ ในวันนี้ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ตอบรับคำขอขยายเวลาการดำเนินการแก้ไขเหตุเพิกถอนของบริษัทฯ ถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งจากเดิมที่กำหนดไว้ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 นับเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในการที่บริษัทฯ จะแก้ไขเหตุเพิกถอนได้ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญก็คือ GL จะต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี 2564 – 2566 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ทันทีที่บริษัทฯ ดำเนินการตามเงื่อนไขข้างต้นแล้วเสร็จ ตลท. จะขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินที่ล่าช้าทั้งหมดภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ “GL” กล่าวว่า “นี่เป็นไปตามแผนของบริษัทฯ ที่มีการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีสำหรับงบการเงินปี 2564 – 2566 เพื่อที่จะสามารถเปิดเผยงบการเงินได้อย่างโปร่งใสและมีคุณสมบัติในการกลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ได้เป็นปกติในที่สุดอันเป็นประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการปรึกษา และทำความเข้าใจกับทางผู้ตรวจสอบบัญชีแล้ว และบริษัทฯ เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นได้ทันตามกำหนดเวลาของ ตลท. ทั้งนี้ บริษัทฯ จะแจ้งความคืบหน้าของสถานะทางการเงินและการตลาดที่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทฯ ให้ท่านทราบต่อไป”

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

12 พฤษภาคม 2566: GL เฮ! ศาลไทยยกคำร้อง JTA ต่อกรณีขอฟื้นฟูกิจการ

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา JTA ได้ยื่นคำร้องขอชำระบัญชี ต่อบริษัท กรุ๊ปลีส โฮลดิ้งส์ จำกัด (GLH) ในประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งยังยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกับบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) (GL) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ยินดีอย่างยิ่งที่ศาลไทยพิจารณาคำร้องแล้วได้มีคำสั่งยกคำร้อง และได้สั่งให้ JTA ชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทคาดหวังว่าศาลสิงคโปร์จะเห็นไปในแนวทางเดียวกันกับศาลไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่า JTA พยายามที่จะใช้คดีล้มละลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสียหายต่อกรุ๊ปลีส และบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม เพียงเพื่อความประสงค์ร้ายและความโลภของพวกเขา ในความคิดเห็นของข้าพเจ้านี่คือการดำเนินการทางกฏหมายโดยมิชอบ”


ขณะที่ด้าน นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ JTA ได้ใช้กลยุทธเช่นนี้ในการสร้างความเสียหายให้กับ GL โดยในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ศาลล้มละลายกลางในประเทศไทยได้ยกคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ GL ที่ JTA ยื่น และ JTA ยังคงพยายามฎีกาคำสั่งดังกล่าวจนมีคำสั่งยืนในชั้นฎีกาให้มีการยกคำร้องดังกล่าวของ JTA ซึ่งครั้งนี้ JTA ได้พยายามอีกครั้ง บริษัทจะยังคงต่อสู้กับการฟ้องร้องในส่วนที่ไม่มีมูลคดีทั้งในประเทศไทยและในประเทศสิงคโปร์ และบริษัทรู้สึกขอบคุณศาลไทยที่ได้ยกคำร้องล่าสุดของ JTA”


Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

23 กุมภาพันธ์ 2566: ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คดีฉ้อโกงที่ JTA ฟ้องกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการจึงถือว่าถูกยกฟ้อง

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ศาลแขวงพระนครเหนือได้มีคำสั่งยกฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงที่ บริษัท เจ ทรัสต์ เอเชีย พีทีอี จำกัด (“JTA”) ได้ฟ้องกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ นายมิตซึจิ โคโนชิตะ และนายมูเนโอะ ทาชิโร่ เนื่องจากคำฟ้องของ JTA ไม่มีมูล เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า เราเพิ่งตรวจสอบพบว่า ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ JTA ยื่นอุทธรณ์คดีนี้”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า        นี่หมายความว่าบริษัทฯ และอดีตกรรมการไม่มีความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่าบริษัทไม่ได้หลอกลวง JTA  โดยศาลก็เห็นพ้องด้วยจึงไม่อนุญาตให้ JTA อุทธรณ์ เราเชื่อว่าคำพิพากษานี้จะทำให้คาดการณ์ได้ถึงแนวทางของคำพิพากษาศาลในปีหน้าสำหรับคดีหลักระหว่าง JTA ว่าการลงทุนในกรุ๊ปลีสไม่อาจเป็นโมฆียะได้เพราะศาลได้ยืนยันแล้วว่าไม่มีการฉ้อโกงที่กระทำโดยกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ เรายังเชื่ออีกว่าการตัดสินของศาลครั้งนี้จะเป็นผลดีสำหรับเราในหลายๆ คดีที่มีกับ JTA ทั่วโลก รวมถึงคดีที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่ JTA ดำเนินคดีโดยไม่ชอบ จำนวน 685,000,000 บาท 9,130,000,000 บาท และ 644,581,997.24 บาท ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลไทย (รวมทั้งสิ้นเป็นเงินจำนวน 10,459,580,000 บาท หรือเทียบเท่าเป็นเงินจำนวนประมาณ 302.5 ล้านเหรียญสหรัฐ)”

เราขอขอบคุณผู้ถือหุ้นตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราจะกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิม เราจะยังคงต่อสู้กับ JTA ต่อไปและเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่ทำให้เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา”

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

สุทิศา ไตรกิศยาโสภณ อมรชัย อุดมโภชน์ ภูมิรพี ศิริบรรณ

โทร.0-2693-7835 ต่อ 25 / 21 / 18

มือถือ 098-996-2454 / 081-720-4573 / 081-587-5199

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

9 กุมภาพันธ์ 2566: ศาลแขวงพระนครเหนือยกฟ้องคดีฉ้อโกงที่ JTA ฟ้อง กรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลแขวงพระนครเหนือได้ไต่สวนเพื่อมีคำสั่งในคดีอาญาฐานฉ้อโกงที่ บริษัท เจ ทรัสต์ เอเชีย พีทีอี จำกัด (“JTA”) ได้ฟ้องกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ นายมิตซึจิ โคโนชิตะ และนายมุเนโอะ ทาชิโร่ เรารู้สึกยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าศาลได้ยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าคำฟ้องของ JTA ไม่มีมูลตามกฎหมาย หรือจะเรียกได้ว่าคดีไม่มีมูล ศาลพิจารณาว่า เนื่องจากการลงทุนในกรุ๊ปลีสของ JTA กระทำโดยความสมัครใจ และ JTA เป็นบริษัทลงทุนที่ใหญ่และมีประสบการณ์ ซึ่ง JTA ควรได้รับทราบสิ่งที่กำลังจะลงทุน ในขณะที่เข้าทำสัญญาลงทุนกับกรุ๊ปลีส ดังนั้น ศาลจึงพิพากษาว่า กรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการไม่มีความผิดอาญาฐานฉ้อโกง ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า ศาลเห็นว่าการลงทุนของ JTA ควรพิจารณาภายใต้ “หลักการของความรับผิดส่วนบุคคล” เมื่อเป็นเช่นนั้น กรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการไม่มีความผิดอาญาฐานฉ้อโกง”

นายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าคดีนี้มีฐานความผิดเดียวกันกับคดีที่ JTA แจ้งความต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (“DSI”) และต่อมาอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่สั่งฟ้องกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ เรามีความยินดีที่ทั้ง DSI และศาลมีข้อสรุปไปในแนวทางเดียวกัน ที่ว่ากรุ๊ปลีสไม่ได้ฉ้อโกง JTA ให้เข้าลงทุนในกรุ๊ปลีส เราเชื่อว่าคำพิพากษานี้จะทำให้คาดการณ์ได้ถึงแนวทางของคำพิพากษาศาลในปีหน้าสำหรับคดีหลักระหว่าง JTA ว่าการลงทุนในกรุ๊ปลีสไม่อาจเป็นโมฆียะได้เพราะไม่มีการฉ้อโกงที่กระทำโดยกรุ๊ปลีสและอดีตกรรมการ

เราขอขอบคุณผู้ถือหุ้นตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราจะกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิม เราจะยังคงต่อสู้กับ JTA ต่อไปและเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่ทำให้เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา”

 

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

สุทิศา ไตรกิศยาโสภณ อมรชัย อุดมโภชน์

โทร.0-2693-7835 ต่อ 25 / 21

มือถือ 098-996-2454 / 081-720-4573

Categories
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

02 กันยายน 2565 : ศาลฎีการับคำร้อง GL คดีเรียกค่าเสียหาย 685 ลบ.จาก JTA หลังชั้นอุทรธรณ์พลิก

ข่าวแจ้งสื่อมวลชน

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. กรุ๊ปลีส (GL) เปิดเผยว่า ศาลฎีกาได้รับพิจารณาคดีที่บริษัทเรียกร้องค่าเสียหายจาก บริษัท เจทรัสต์ เอเชีย พีทีอี จำกัด (JTA) เป็นจำนวน 685 ล้านบาท จากกรณีที่ JTA มีเจตนาที่ไม่สุจริตในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทในประเทศไทย

นอกจากนี้ คำสั่งดังกล่าวของศาลฎีกายังส่งผลดีต่อคดีอื่นที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาคดี รวมถึงคดีแพ่งคดีที่ 2 ที่บริษัทฟ้อง JTA เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมากกว่า 9,130 ล้านบาท และคดีอาญาที่บริษัทฟ้อง JTA และกรรมการ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา

โดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ศาลแพ่งพิพากษาว่า JTA กระทำการไม่สุจริต โดยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการบริษัทในประเทศไทย ศาลยังพิพากษาว่าการกระทำดังกล่าวของ JTA ทำให้เกิดความเสียหายและได้มีคำสั่งให้ JTA จ่ายเงิน 685 ล้านบาท รวมทั้งค่าทนายให้แก่บริษัท หลังจากที่มีคำพิพากษาดังกล่าว JTA ได้ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ JTA เป็นฝ่ายชนะคดี โดย JTA ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท บริษัทเห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงได้ยื่นคำร้องขอฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด

ด้านนายริกิ อิชิกามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GL กล่าวว่า เดิมทีบริษัทได้ดำเนินดคีแพ่งต่อ JTA เนื่องจาก JTA พยายามให้บริษัทเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการอย่างไม่เข้าหลักเกณฑ์ แม้จะเห็นได้ชัดเจนว่าบริษัทไม่ได้เข้าองค์ประกอบในเกณฑ์ที่จะต้องฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม 2562 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องที่ JTA ยื่นขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทเป็นครั้งที่สอง โดยศาลตัดสินให้มีคำสั่งยกคำร้อง เพราะพิจารณาปัจจัยสามประการ ดังนี้:

  1. จำนวนหนี้สิ้นของบริษัทที่มีต่อ JTA
  2. จำนวนทรัพย์สินของบริษัทเทียบกับหนี้สินของบริษัท
  3. ความสามารถของบริษัทในการดำเนินกิจการ

เมื่อพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการดังกล่าวแล้ว ศาลจึงได้ตัดสินว่า จำนวนเงินที่ JTA เรียกร้องว่าบริษัทเป็นหนี้ JTA นั้น ยังไม่ถึงกำหนดชำระแน่นอน, บริษัทมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน จึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และสุดท้าย บริษัทสามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ จึงมีคำสั่งยกคำร้องของ JTA